วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลอดเรืองเเสง

เรื่องหลอดไฟเรืองแสง
การทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์

      มื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไอปรอท จะคายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ไอปรอท ซึ่งจะทำให้อะตอม ของไอปรอทอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น (exited state) เป็นผลให้อะตอมปรอทคายพลังงานออกมาเพื่อ ลดระดับพลังงานในตัวเองในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งมองไม่เห็น เมื่อรังสีชนิดนี้ไปกระทบกับสารวาวแสงที่ฉาบไว้ที่ผิวด้านในของหลอดฟลูออเรสเซนต์ สารเหล่านี้จะเปล่งแสงได้ โดยให้แสงสีต่างๆตามชนิดของสารวาวแสงที่ฉาบไว้ภายในหลอดนั้น เช่น แคดเมียมบอเรท (Cadmium borate) ให้ แสงสีชมพู แคดเมียมซิลิเคท (Cadmium silicate) ให้แสงสีชมพูอ่อน แมกนีเซียมทังสเตท (Magnesium tungstate) ให้แสงสีขาวอมฟ้า แคลเซียมทังสเตท (Calcium tungstate) ให้แสงสีน้ำเงิน ซิงค์ซิลิเคท (Zinc silicate) ให้แสงสีเขียว ซิงค์เบริลเลียมซิลิเคท (Zinc Beryllium silicate) ให้แสงสีเหลืองนวล นอกจากนี้ยังอาจผสมสารวาวแสงเหล่านี้ เพื่อให้ได้แสงสีผสมที่แตกต่างกันออกไปได้อีกด้วย



ส่วนประกอบ+หน้าที่


  1.สตาร์ตเตอร์ (starter) ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์อัตโนมัติในขณะหลอดฟลูออเรสเซนต์ยังไม่ติด และหยุดทำงานเมื่อหลอดติดแล้ว

2.แบลลัสต์ (ballast) ทำหน้าที่เพิ่มความต่างศักย์ เพื่อให้หลอดฟลูออเรสเซนต์ติดในตอนแรก และทำให้กระแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟลดลงเมื่อหลอดติดแล้ว พร้อมทั้งควบคุมให้กระแสไฟฟ้าคงตัว
 3.ขั้วต่อไฟ เป็นจุดต่อวงจรไฟฟ้าของหลอดฟลูออเรสเซนต์ไส้หลอด ทำด้วยโลหะทังสเตนอยู่ที่ปลายหลอดทั้งสองข้างหลอดแก้ว ภายในหลอดสูบอากาศออกจนหมด แล้วใส่ไอปรอทไว้เล็กน้อย ผิวหลอดแก้วด้านใน ฉาบด้วยสารวาวแสง (fluorescent coating) ชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะให้สีต่าง ๆ กันออกไป





ถ้าเรานำเอาหลอดเรืองแสงแบบยาวตรงธรรมดามาตัดโค้งให้เป็นรูปวงกลม โดยเอาปลายทั้งสองมาชนกัน เราจะได้หลอดเรืองแสงรูปร่างคล้ายขนมโดนัท เรียกว่า “หลอดเรืองแสงรูปวงกลม ซึ่งเป็นลักษณะหลอดที่อำนวยประโยชน์พิเศษได้ในหลายกรณี
                หลอดเรืองแสงรูปวงกลมเหมาะสำหรับใช้ติดตั้งในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด เช่น ในห้องน้ำหรือในครัว นอกจากนั้นแล้วแสงจากหลอดเรืองแสงรูปวงกลมนี้ยังมีลักษณะรวมกลุ่มอยู่เป็นบริเวณเฉพาะมากกว่าแบบยาวตรงธรรมดา ซึ่งเหมาะสำหรับบริเวณการปฏิบัติงานขนาดเล็กที่มีความต้องการความเข้มของแสงสูงเฉพาะตำแหน่งนั้น ๆ
                หลอดเรืองแสงรูปวงกลุมมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากหลอดยาวตรงคือ ตรงรอยต่อของปลายทั้งสองของหลอดที่งอเข้าหากันจะมีปลอกพลาสติกสวมอยู่ภายในบรรจุขั้วหลอดทั้ง 4 ขั้วของปลายหลอดทั้งสองไว้ ซึ่งการจัดวางขั้วหลอดลักษณะนี้ทำให้ผังการต่อสายไฟฟ้าของหลอดเรืองแสงรูปวงกลมแตกต่างไปจากของหลอดเรืองแสงแบบยาวตรงธรรมดารวมทั้งกรรมวิธีการถอดเปลี่ยนตัวหลอดก็แตกต่างด้วยเช่นกัน

หลอดไฟโฆษณา

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง

     อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสง ได้แก่ หลอดไฟฟ้า หลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดไฟโฆษณา โธมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2422 โดยใช้คาร์บอนเส้นเล็กๆเป็นไส้หลอดและต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้น จนเป็นหลอดไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบัน
         
หลอดนีออน หรือหลอดไฟโฆษณา เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงสว่าง มีลักษณะเป็นหลอดแก้วที่ถูกลนไฟ ดัดเป็นรูปหรืออักษรต่างๆ สูบอากาศออกเป็นสูญญากาศ แล้วใส่ก๊าซบางชนิดที่ให้แสงสีต่างๆ ออกมาได้ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านหลอดชนิดนี้ไม่มีไส้หลอดไฟ แต่ใช้ขั้วไฟฟ้าทำด้วยโลหะติดอยู่ที่ปลายทั้ง 2 ข้าง แล้วต่อกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์สูงประมาณ 10,000 โวลต์ ซึ่งมีความต่างศักย์ที่สูงมาก จะทำให้ก๊าซที่บรรจุไว้ในหลอดเกิดการแตกตัวเป็นนีออนและนำไฟฟ้าได้ เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านก๊าซเหล่านี้จะทำให้ก๊าซร้อนติดไฟให้แสงสีต่างๆ ได้
ตัวอย่างก๊าซชนิดต่างๆ ที่บรรจุในหลอดโฆษณา
ก๊าซนีออน ให้แสงสีแดง
ก๊าซฮีเลียม ให้แสงสีชมพู
ก๊าซอาร์กอน ให้แสงสีขาวอมน้ำเงิน และถ้าใช้ก๊าซต่างๆ ผสมกันก็จะได้สีต่างๆ ออกไป

ข้อแนะนำการใช้หลอดไฟอย่างประหยัด
1. ใช้หลอดเรืองแสงจะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดธรรมดาประมาณ 4 เท่า เมื่อใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากัน และอายุการใช้งานจะทนกว่าประมาณ 8 เท่า
2. ใช้แสงสว่างให้เหมาะกับการใช้งาน ที่ใดต้องการแสงสว่างไม่มากนักควรติดไฟน้อยดวง
3. ทำความสะอาดโป๊ะไฟ จะให้แสงสว่างเต็มที่
4. ปิดไฟทุกครั้งที่ไม่จำเป็นต้องใช้